2007年8月1日水曜日



วัดคูหาภิมุข หรือ "วัดหน้าถ้ำ" เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 136 หมู่ 1 บ้านหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
พ.ศ. 2390 ผู้ใหญ่บ้านอาศัยอยู่ที่บ้านหน้าถ้ำ ได้สร้างวัดคูหาภิมุขเพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในหมู่บ้าน
ภายในวัดคูหาภิมุขมีถ้ำใหญ่ ประดิษฐาน พระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ภายในถ้ำ ยังมีหินงอกหินย้อย และน้ำใสสะอาดไหลริน จากโขดหิน
วัดคูหาภิมุข เป็นวัดที่สำคัญของเมืองยะลา มีพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย เก็บวัตถุโบราณที่ได้มาจาก วัดถ้ำ ภูเขากำปั่น พระพิมพ์ดินดิบ สถูปเม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อ "วัดหน้าถ้ำ" เป็น "วัดคูหาภิมุข"
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระยายะหริ่งมาสร้างเมืองยะลา ตั้งที่ว่าราชการ ณ บ้านท่าสาป ตำบลท่าสาป และสร้างวัดขึ้นที่ริมเขาหน้าถ้ำที่มีพระพุทธไสยาสน์ภายในถ้ำ
พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ได้เสด็จมาประทับแรมที่วันแห่งนี้ มีพระปรมาภิไธย ย่อ ป.ป.ร. ที่ผาหินภายในวัดคูหาภิมุข



สารบัญ
ตำบลหน้าถ้ำเคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยศาสนสถาน เมืองโบราณ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่พบเทวรูปสำริด กำแพงเมือง พระพิมพ์ดินดิบแบบทวารวดีศรีวิชัย ภาพเขียนสีพระพทธรูปฉาย ภาพเขียนสีราชรถมีสัตว์เทียม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 -17 ยะลาเป็นชุมชนเกษตร นักโบราณคดีได้พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บริเวณถ้ำคูหาภิมุข เป็นภาพพระพ�! �ทธฉายและภาพราชรถแกะสลักไว้บนหน้าผา ภายในบริเวณถ้ำคูหาภิมุข


วัดคูหาภิมุข
พระพุทธไสยาสน์
พิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดคูหาภิมุข มีวัตถุโบราณที่ขุดค้นได้จากถ้ำต่างๆ ในตำบลหน้าถ้ำ ได้แก่ ภูเขาวัดถ้ำ ภูเขากำปั่น กรมศิลปากรค้นพบพระพิมพ์ดินดิบ สมัยศรีวิชัย สถูป เม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป ขวานหินขัด และบริเวณสนามบินท่าสาป ได้ค้นพบโคกอิฐ เนินดิน ซากกำแพงเมืองโบราณ เครื่องถ้วยชาม เทวรูปพระนารายณ์สำริด สูงประมาณ 1 ศอก (0.5 เมตร)พระ! พุทธรูปแกะสลักในแผ่นหินมีสภาพสมบูตร์ จำนวน 3 องค์ กว้าง 21.50 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมาตร สลักเป็นรูปนูนต่ำ รูปพระพุทธเจ้าประทับนั่ง ปางสมาธิ อีกองค์หนึ่งชำรุดครึ่งหนึ่งมีแร่พระเศียร พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง



พิกัดทางภูมิศาสตร์
มวลสารวัตถุจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุในที่นี้ รัชกาลที่ ๙ ได้นำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา


0 件のコメント: