2007年9月3日月曜日
อำพล ลำพูน นักแสดงชื่อดัง มีผลงานสร้างชื่อมากมาย เช่น วัยระเริง น้ำพุ ข้างหลังภาพ ฯลฯ ทั้งยังประสบความสำเร็จในวงการเพลงเมืองไทย ในฐานะนักร้องวงไมโครอีกด้วย
ประวัติ
" หนุ่ย" จบชั้นมัธยมตอนต้น ก็ได้เข้ามาเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศิลป์ ศึกษาในสาขาวิชาศิลปะ เขามีความสนใจ ด้านดนตรีตั้ง แต่เด็ก เคยตั้งวงดนตรีโฟล์กซองกับเพื่อน ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น มัธยมปีที่ 1 หลังจาก เรียนจบที่วิทยาลัยอาชีวศิลป์ศึกษาหนุ่ย และเพื่อนจึง ร่วม กันตั้ง วงดนตรีชื่อ " วงไมโคร"
อนุบาล : โรงเรียนรุ่งนภาพิทยา จ.ระยอง
ประถมศึกษา : โรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม จ.ระยอง
มัธยมศึกษา : โรงเรียนแกลงวิทยสถาวร จ.ระยอง
ปวช. : โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา กรุงเทพมหานคร การศึกษา
อำพล ลำพูนเข้าวงการโดยเป็นนักแสดงในสังกัดของ ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น โดยการชักชวนของผู้กำกับชื่อดัง เปี๊ยก โปสเตอร์ ภาพยนตร์เรื่องชื่อเรื่องว่า วัยระเริง เมื่อปี พ.ศ. 2527 คู่กับวรรษมณ วรรฒโรดม ต่อมาในปีเดียวกันอำพล ลำพูน ก็ได้รับบทน้ำพุ ในภาพยนตร์เรื่อง น้ำพุ คู่กับนางเอกคนเดิม และได้แสดงร่วมกับเรวัต พุทธินันทน์และภัทราวดี มีชูธน กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิทและภาพยนตร์เรื่องนี้อำพลได้รางวัลตุ๊กตาทอง สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม และรางวัลสุพรรณหงส์จากการประกวด ภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิคจาก ภาพยนตร์เรื่องน้ำพุ ในปี 2527
ภาพยนตร์เรื่องที่สาม ข้างหลังภาพ จากบทประพันธ์ของศรีบูรพา กำกับโดยเปี๊ยก โปสเตอร์ นางเอก คือ นาตถยา แดงบุหงา นอกจากนี้อำพล ลำพูนยังแสดงภาพยนตร์เรื่อง ต้องปล้น , พันธุ์หมาบ้า , ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม , คู่ชื่นวัยหวาน , สองพี่น้อง , หัวใจเดียวกัน , แรงเงา , ไฟริษยา , ดีแตก , รู้แล้วหน่าว่ารัก ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จะเล่นคู่กับพระเอกรุ่นเดียวกัน คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นอกจากนี้ยังเล่นกับจินตรา สุขพัฒน์หลายเรื่องด้วย
จากการรวบรวมสามารถสรุปได้ ดังนี้
วัยระเริง พ.ศ. 2527
น้ำพุ พ.ศ. 2527
ข้างหลังภาพ พ.ศ. 2528
กัลปังหา พ.ศ. 2528
สองพี่น้อง พ.ศ. 2528
เพียงบอกว่ารักฉันสักนิด พ.ศ. 2528
หัวใจเดียวกัน พ.ศ. 2529
ไฟเสน่หา พ.ศ. 2529
คู่วุ่นวัยหวาน พ.ศ. 2529
แรงหึง พ.ศ. 2529
เฮงได้ เฮงดี รักนี้ พ.ศ. 2530
ดีแตก พ.ศ. 2530
ปัญญาชนก้นครัว พ.ศ. 2530
ปุลากง พ.ศ. 2532
พันธุ์หมาบ้า พ.ศ. 2533
สองอันตราย พ.ศ. 2533
ต้องปล้น พ.ศ. 2534
ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม พ.ศ. 2533 ภาพยนตร์ 2527-2540
หลังจากที่อำพล ลำพูนแสดงภาพยนตร์กับบริษัทไฟว์สตาร์มา 2 ปีกว่า ออกได้ยกเลิกสัญญาและได้มาเป็นนักร้องนำวงไมโคร ในสังกัดแกรมมี่ เมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2529 จึงออกอัลบั้มแรกชื่อชุด " ร็อค เล็ก เล็ก" ออกมาในปี 2529 ซึ่งทำให้วงการเพลงไทยตื่นตัวกับดนตรี แนวร็อคมากขึ้น และสร้างชื่อเสียงให้ วงไมโครอย่างมาก มี เพลงฮิตจากงานชุดนี้ หลายเพลง เช่น รักปอนปอน , อยากจะ บอกใครสักคน และเพลง สมน้ำหน้า....ซ่านัก
และออกมาอีกหลายอัลบั้ม ดังนี้
ร็อค เล็ก เล็ก ธันวาคม พ.ศ. 2529
หมื่นฟาเรนไฮต์ มกราคม พ.ศ. 2531
เต็มถัง ธันวาคม พ.ศ. 2533 วงไมโคร
อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 7 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง
อย่าดีกว่า
อู๊ดกับแอ๊ด
อยากจะบอกใครสักคน
สมน้ำหน้าซ่านัก
ฝันที่อยู่ไกล
อยากได้ดี
จำฝังใจ ร็อค เล็ก เล็ก (พ.ศ. 2529)
อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 8 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง
เอาไปเลย
จริงใจซะอย่าง (ร้องคู่กับกบ ไมโคร)
หมื่นฟาเรนไฮต์
พายุ
ใจโทรมๆ
บอกมาคำเดียว
ลองบ้างไหม
โชคดีนะเพื่อน หมื่นฟาเรนไฮต์ (พ.ศ. 2531)
อำพล ลำพูนร้องเอาไว้ทั้งอัลบั้ม จำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง
หลังจากนั้นอำพล ลำพูนออกแยกตัวจากวงไมโคร ในปี 2535 หนุ่ยมีอัลบั้มเดี่ยว ของเขาออกมาในชื่อ "วัตถุไวไฟ" แต่วงไมโครยังออกอัลบั้มต่อ ส่วนอำพล ลำพูนได้ทำอัลบั้มเดี่ยวกับสังกัดเดิม ต่อมาในปี 2546 วงไมโครซึ่งมีอำพล ลำพูนเป็นนักร้องนำ และสมาชิกเดิมครบ ได้กลับมาแสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า "Put the right hand in the right concert" คอนเสิร์ตมีทั้งหมด 3 รอบ ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2546 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี บัตรคอนเสิร์ตทั้ง 3 รอบนี้ จำหน่ายหมดก่อนกำหนด 4 เดือน มีผู้เข้าชมสามหมื่นกว่าคน
ส้มหล่น
เรามันก็คน
คนไม่มีสิทธิ์
ดับเครื่องชน
รู้ไปทำไม
มันก็ยังงงงง
เติมน้ำมัน
รุนแรงเหลือเกิน
ถึงเพื่อนเรา
เปิดฟ้า เต็มถัง (พ.ศ. 2533)
วัตถุไวไฟ พ.ศ. 2535
ม้าเหล็ก พ.ศ. 2537
อำพลเมืองดี พ.ศ. 2539 นักร้องเดี่ยว
Producer : กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , Executive Producer : เรวัติ พุทธินันท์ , Producer Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค
บันทึกเสียง : CenterstageStudio / ButterflyStudio
ผสมเสียง : โยธิน ชีรานนท์ / ButterflyStudio
นักดนตรี : วีระ โชติวิเชียร , เพชร มาร์ , นพพร อิ่มทรัพย์ , ศิริพงษ์ หรเวชกุล , กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , สมชัย ขำเลิศกุล
ร้องสนับสนุน : ศิริพงษ์ หรเวชกุล , อนุช เตมีย์ , พิศาล พานิชผล
อำนวยการผลิต : ประชา พงศ์สุพัฒน์
วัตถุไวไฟ
เสียมั้ย
ลางร้าย
อย่างทำอย่างนั้น
หยุดมันเอาไว้
บ่นทำลาย
เข็ด
แผลในใจ
ยังไงก็โดน
คือฝน (เพลงที่สั้นที่สุดของอำพลและวงไมโคร) วัตถุไวไฟ (พ.ศ. 2535)
Producer : กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , Executive Producer : เรวัติ พุทธินันท์ , Production Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค
Co-Producer : ประชา พงษ์สุพัฒน์ , บันทึกเสียง : ButterflyStudio ก.ย. - พ.ย. 2536
ควบคุมเสียง : พงษ์ศักดิ์ เกาหอม / วราวุธ เปี่ยมมงคล
ผสมเสียง : โยธิน ชิรานนท์ / ต่อพงษ์ สายศิลป์
นักดนตรีและนักร้องรับเชิญ : กบ (ไมโคร) / เพชร มาร์ / อ้วน (ไมโคร) / บอย (ไมโคร) / วีระ โชติวิเชียร
อภิไชย เย็นพูนสุข / ลัดสปัญ สมสุวรรณ / พงษ์ศักดิ์ ภูววีรานนท์ / กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
ม้าเหล็ก (เพลงที่ยาวที่สุดของอำพลและวงไมโคร)
เอากะเขาหน่อย
ลองเชิงลองใจ
ไม่อยากทำใคร
จะไปเหลืออะไรล่ะ
ขอเวลาหายใจ
รู้ได้ยังไง
ไว้ใจ
ไม่ต้องเกรงใจกันบ้าง
เครื่องจักรน้อยๆ ม้าเหล็ก (พ.ศ. 2537)
Producer : ชาตรี คงสุวรรณ Executive Producer : เรวัติ พุทธินันท์ Production Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค Co-Producer : สมควร มีศิลปสุข , บันทึกเสียง : ห้องอัดเสียงศรีสยาม นักดนตรี : Drums : ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม , Electric Guitar : ไกรภพ จันท์ดี , พิเชษฐ์ เครือวัลย์ , โอม Electric Bass : กอล์ฟ Y-Not-7 , พี่เหม , Organ : โอม , ปุ้ม Chorus : ปอนด์ , ปุ้ม , โอม , กอล์ฟ ผสมเสียง : โสฬส พงษ์พรหม , ปณต สมานไพสิฐ
ตอก
ฝากรอยเท้า
ไว้ชีวิต
ในสายตาเธอ
ไปสู่แสงไฟ
ถอยกันเป็นแถบ
ขอไปกับสายลม
ยังไม่ตาย
ไม่แรงพอ
อยู่ๆ กันไป อำพลเมืองดี (พ.ศ. 2539)
คอนเสิร์ต
วงไมโครได้เปิดตัวเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะอำพล ลำพูนได้เปิดตัวเป็นครั้งแรก ในฐานะนักร้อง โดยเล่นเป็นวงเปิดให้กับเต๋อ เรวัต พุทธินันท์ ซึ่งตอนนั้นอัลบั้มแรกของไมโครยังไม่ออกจำหน่ายเลยด้วยซ้ำ
คอนเสิร์ตปึ้กกก
วันที่ 19 ตุลาคม 2529
วันแสดง
อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก
สถานที่
เป็นคอนเสิร์ตที่มาปีเดียวกับอัลบั้มที่ 2 คือ หมื่นฟาเรนไฮต์ ซึ่งมีเพลงอมตะอย่างเพลง เอาไปเลย
ไมโคร ร็อค คอนเสิร์ต ตอน เอาไมโครไปเลย
วันที่ 16 เมษายน 2531
วันแสดง
ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง
สถานที่
คอนเสิร์ตนี้มีแต่ผู้หญิงที่เข้าชม ซึ่งวงไมโครเล่นได้เพลงกว่าๆ เท่านั้นฝนจึงตก ทำให้การแสดงคอนเสิร์ตมีต่อลำบาก เพราะเล่นกลางแจ้ง
คอนเสิร์ตเติมสีเขียวหวาน
วันที่ 18 ตุลาคม 2532
วันแสดง
ลานลอยฟ้า เซ็นทรัลลาดพร้าว
สถานที่
คอนเสิร์ตมือขวา ชุดรวมพลัง
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2533
วันแสดง
ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น
สถานที่
เป็นคอนเสิร์ตที่สถานีโทรทัศน์ NHK ประเทศญี่ปุ่น คัดเลือกสุดยอดวงดนตรีร็อคของแต่ละประเทศมาแสดงที่ที่เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวงไมโครก็เป็นตัวแทนของประเทศไทย
เทศกาล International Rock Music Festival 1990
ตรงกับสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
งานต้อนรับนักกีฬาซีเกมส์ 1990
เป็นคอนเสิร์ตแรกตั้งแต่อำพล ลำพูนแยกตัวออกมาจากวงไมโคร
คอนเสิร์ตอำพลคนไวไฟ
ไกรภพ จันทร์ดี
มานะ ประเสริฐวงศ์ ศิลปินรับเชิญ
วันที่ 6 มิถุนายน 2535
วันแสดง
MBK HALL ชั้น 7 มาบุญครอง
สถานที่
คอนเสิร์ตอัศวินม้าเหล็ก
ไกรภพ จันทร์ดี
มานะ ประเสริฐวงศ์
สันธาน เลาหวัฒนวิทย์ ศิลปินรับเชิญ
วันที่ 12 มีนาคม 2537
วันแสดง
ลานลอยฟ้า เซ็นทรัลลาดพร้าว
สถานที่
คอนเสิร์ตอำพลกับคนไว้ใจ ตอน เอากะเขา(อีก)หน่อย
มาช่า วัฒนพานิช ศิลปินรับเชิญ
วันที่ 6 เมษายน 2537
วันแสดง
ลานลอยฟ้า เซ็นทรัลลาดพร้าว
สถานที่
Amphol Big Story Concert 1986-1996
วันที่ 27 มกราคม 2539
วันแสดง
อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก
สถานที่
เป็นคอนเสิร์ตที่วงไมโครรวมตัวกันอีกครั้งตามคำเรียกร้อง
คอนเสิร์ตตำนานมือขวาไมโคร (Put the right hand in the right concert)
ฐิติมา สุตสุนทร
ปาล์มมี่
โมเดิร์น ด็อก (ป๊อด) ศิลปินรับเชิญ
วันที่ 12-14 ธันวาคม 2546
วันแสดง
อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี
สถานที่
เป็นคอนเสิร์ตรวมตัวกันเฉพาะกิจของวงไมโครและวงนูโว
คอนเสิร์ตไมโคร-นูโว ONE BIG SHOW
วันที่ 25 ธันวาคม 2547
วันแสดง
สนามเสือป่า
สถานที่
เป็นคอนเสิร์ตร่วมของอำพล ลำพูนกับบิลลี่ โอแกน จัดโดยคลื่นวิทยุ กรีนเวฟ
คอนเสิร์ตอำพลเมืองดีกับบิลลี่เข้ม
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2548
วันแสดง
อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี
สถานที่
เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยอัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์มาเรียบเรียงใหม่ให้ทันสมัยขึ้น ขับร้องโดยเหล่าศิลปินคุณภาพทุกแนวเพลงมาร่วมขับร้องด้วย โดยอำพล ลำพูนได้ขับร้องเพลงชะตาชีวิต (H.M.BLUES) ซึ่งเป็นเพลงแรกของอัลบั้มนี้ด้วย
โครงการ H.M.BLUES ร้องบรรเลงเพลงของพ่อ
อำพล ลำพูน เล่นละครเรื่องแรกเมื่อปี 2541 และมีผลงานละครเรื่อยๆ มา
หัวใจและไกปืน โทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7ร่วมด้วย ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
คู่อันตราย โทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ร่วมด้วย พีท ทองเจือ
เทวดาเดินดิน ไทยทีวีสีช่อง 3 ร่วมด้วย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง , เมทนี กิ่งโพยม , เสนาหอย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค ฯลฯ
มือปืน ไทยทีวีสีช่อง 3 ร่วมด้วย ฉัตรชัย เปล่งพานิช , ฌัฐชา รุจินานนท์ , อาภาศิริ นิติพน ฯลฯ
ละครเฉลิมพระเกียรติเรื่องตะลุมพุก โทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ร่วมด้วย ธัญญาเรศ รามณรงค์
ทองพูน โคกโพธิ์ ราษฎรเต็มขั้น ไทยทีวีสีช่อง 3 ร่วมด้วย ศิรประภา สุขดำรง, สามารถ พยัคฆ์อรุณ
มนต์รักแม่น้ำมูล โทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 ร่วมด้วย คทลีน่า กร็อส
ส.ต.ท.บุญถึง โทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ร่วมด้วย พิมพ์พรรณ จันทะ สรพงษ์ ชาตรี
ปมรัก..นวลฉวี สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ร่วมด้วย ใหม่ เจริญปุระ ละคร
ภาพยนตร์
พ.ศ. 2541 เรื่อง เสือ โจรพันธุ์เสือ ร่วมด้วย ดอม เหตระกูล , ศุภกร กิจสุวรรณ กำกับโดย ธนิย์ จิตรนุกูล
เรื่องย่อ พุทธศักราช 2489 แผ่นดินลุกเป็นไฟ ผู้เดือดร้อนไปทั่วกลียุค ข้าวยากหมากแพง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดโจรร้ายออกปล้นสดมภ์ไปทั่วทุกหัสระแหง แต่เสือใบ(อำพล) กลับปล้นคนรวยที่คดโกงเพื่อช่วยคนจน ทางกรมตำรวจจึงเรียกตัวผู้กองยิ่ง(ดอม) นายตำรวจมือปราบมาช่วยปราบเสือใบ เสือใบรับมือผู้กองยิ่งโดยมีเสือยอด สิงห์ปืนคู่(ศุภกร) คอยเป็นมือขวา
เสือ โจรพันธุ์เสือ
พ.ศ. 2542 เรื่อง โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน ร่วมด้วย สิริยากร พุกกะเวส กำกับโดย ปิติ จตุรภัทร
เรื่องย่อ
ภาพยนตร์ทุ่มทุนสร้างระหว่างไทย - ไต้หวัน พ.ศ. 2543 เรื่อง อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร ร่วมด้วย หลินจื้ออิง , ฌัชชา รุจินานนท์ , เมธี อมรวุฒิกุล , อู๋เฉินจวิน , อภิชาติ ชูสกุล , ทองขาว ภัทรโชคชัย กำกับโดย นพพร วาทิน
อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร
ในปี พ.ศ. 2480 ได้มีกลุ่มอิทธิพลชาวจีนที่เรียกตัวเองว่า อั้งยี่ รวมตัวกันก่อตั้งเป็นสมาคมลับเพื่อปกครองชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย ซึ่งในเวลานั้น 2 สมาคมที่มีอิทธิพลมากและเป็นที่รู้จักกันดี คือ สมาคมตั้งกงสีกับสมาคมซานเตี้ยม ซึ่งต่างมีข้อขัดแย้งและทะเลาะกันเรื่อยมา แค่ต้องรับมือกับฝ่ายตรงข้ามก็อ่วมอรทัยแล้วว หากแต่ว่าภายในสมาคมยังมีทั้งการเมืองและการหักหลังกันอีก โดย เล้ง(อำพล) หลักแดงของสมาคมซานเตี้ยมถูกคนในสมาคมโดยเฉพาะซานจู๊(อภิชาติ) หักหลังจึงต้องย้ายสมาคมมาอยู่กับสมาคมตั้งกงสีเพื่อล้างแค้นซานจู๊ ซึ่งสุดท้าย แม้อั้งยี่จะเก่งกล้าแค่ไหนก็ตายเหมือนกับสามัญชนทั่วไป...
สุริโยไท
ภาพยนตร์เรื่อง 102 ปิดกรุงเทพปล้น นำแสดงโดย อำพล ลำพูนและฉัตรชัย เปล่งพานิช ฉายเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2547 โดยสหมงคลฟิล์ม
登録:
コメントの投稿 (Atom)
0 件のコメント:
コメントを投稿