2007年8月6日月曜日

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ประเภท "ร้อยกรอง" ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีปรากฏในวรรณคดีไทยมานานแล้ว วรรณคดีไทยฉบับที่เก่าและมีชื่อเสียงมากฉบับหนึ่งคือ "ลิลิตพระลอ" มีโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งถูกยกมาเป็นบทต้นแบบที่แต่งได้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ คือนอกจากจะมีบังคับสัมผัสตามที่ต่าง ๆ แล้ว ยังบังคับให้มีวรรณยุกต์เอกโทในบางตำแหน่งด้วย กล่าวคือ มีเอ�! �� 7 แห่ง และโท 4 แห่ง เรียกว่า เอกเจ็ดโทสี่
คณะของโคลงสี่สุภาพ คือ บทหนึ่ง มี 4 บาท (เขียนเป็น 4 บรรทัด) 1 บาทแบ่งออกเป็น 2 วรรค โดยวรรคแรกกำหนดจำนวนคำไว้ 5 คำ ส่วนวรรคหลัง ในบาทที่ 1,2 และ 3 จะมี 2 คำ (แต่บาทที่ 1 และ 3 อาจเพิ่มสร้อยได้อีกแห่งละ 2 คำ) ส่วนบาทที่ 4 วรรคที่ 2 จะมี 4 คำ รวมทั้งบท มี 30 คำ และเมื่อรวมสร้อยทั้งหมดอาจเพิ่มเป็น 34 คำ ส่วนที่บังคับ เอก โท (เอก 7 โท 4) ดังนี้
บาทที่ 1 วรรคแรก คำที่ 4 เอก และคำที่ 5 โท
บาทที่ 2 วรรคแรก คำที่ 2 เอก วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท
บาทที่ 3 วรรคแรก คำที่ 3 เอก วรรคหลัง คำที่ 2 เอก
บาทที่ 4 วรรคแรก คำที่ 2 เอก คำที่ 5 โท วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท
สัมผัส ที่บังคับเป็นสัมผัสสระ ดังนี้
บาทแรก คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคแรก ในบาทที่ 2 และ 3
บาทที่ 2 คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคแรก ในบาทที่ 4
นอกนั้น อาจมีสัมผัสอักษรภายในแต่ละวรรคได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะมีส่วนเพิ่มความไพเราะขึ้นอีก ดังตัวอย่างต่อไปนี้


0 件のコメント: